วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์


การ ปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พ.ศ. 2325 - 2435
สภาพ ทาง การเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม
พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย

เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง
การปกครองในประเทศราช ใช้ วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น ได้แก่ การนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ ให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น
มูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการ ปกครอง มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. มูลเหตุภายใน
- ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น
- การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น
- การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
2. มูลเหตุภายนอก
- หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคม

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปกครองในสมัยธนบุรี


ลักษณะ การปกครองธนบุรี

การปกครองในสมัยธนบุรีคงดำเนินตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลายสรุปได้ดัง นี้

การ ปกครองส่วนกลางมีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง สมุหนายก” ( เจ้าพระยาจักรีและพระยายมราชเป็นหัวหน้า) รับผิดชอบดูแล หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งทหารและพลเรือนในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยามหาเสนาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ส่วนหน้าที่ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ให้ขึ้นกับ พระยาโกษาธิบดีซึ่งว่าการกรมคลังและดูแลหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก

กรม เมือง ( นครบาล )ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ปกครองในเขตราชธานี ตลอดจนการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร

กรม วัง ( ธรรมมาธิกรณ์ ) มีหน้าที่เกี่ยวกับการในราช สำนัก กับทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดี

กรม คลัง ( โกษาธิบดี )มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อกับต่างประเทศ

กรน นา ( เกษตราธิการ ) มีหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวน ไร่นา และเสบียงอาหาร

การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองเป็น 2 ประเภท

เมือง พระยามหานคร หัวเมืองชั้นนอกทรงแต่ง ตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปเป็นเจ้าเมือง จำแนกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นจัตวา ต่อมาขึ้นกับ กรมท่า (กรมพระคลัง)

เมืองประเทศราช โปรดให้ประมุขของเมืองนั้นปกครองกันเองโดยส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ

ใน เริ่มแรกของการตั้งอาณาจักรธนบุรีทางทิศเหนือจรด นครสวรรค์ ทางทิศใต้จรดเมืองเพชรบุรีทางทิศตะวันออกจรดเมืองตราด ปราจีนบุรี ทางทิศตะวันตกจดเขตแดนพม่าแถวเมืองกาญจนบุรี เมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งพ.. 2313 จึง สามารถรวบรวมบรรดาหัวเมืองที่เคยขึ้นกับอยุธยา มาอยู่ภายใต้การปกครองกรุงธนบุรีทั้งหมด ทรงปราบชุมนุมต่างๆ มีชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมสุดท้าย ได้โปรดให้จัดการปกครองหัวเมืองเหนือครั้ง ใหญ่ ทรงโปรดเกล้าให้แม่ทัพนายกองคนสำคัญออกไปปกครองดูแลหัวเมืองเหนือเช่นเมือง พิษณุโลก เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิ ราชเมืองสวรรค์โลก เจ้าพระยาพิชัยราชาเมือง สุโขทัย พระท้ายน้ำ เมืองพิชัย พระยาสีหราชเดโช ( ต่อมาได้ เลื่อนขึ้นเป็น พระยาพิชัย ผู้คนตั้งสมญา ต่อท้าย

ว่าพระยาพิชัยดาบหัก “ ) เมืองนครสวรรค์ เจ้าพระยาอนุรักษ์ภูธร

การ ปกครองเมืองเหนือพ..2313นับ เป็นความสำคัญเพราะเวลานั้นพม่ายึดครองเมือง เชียงใหม่ และมีกำลังเข็มแข็ง การดูแลหัวเมืองเหนือเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการปก ป้องและการขยายราชอาณาจักรปลายรัชกาลอาณาจักรขยายไปกว่าเดิมเป็นอันมากมี เนื้อที่มากกว่าปัจจุบันเป็นเท่าตัว ทางทิศเหนือได้หัวเมืองล้านนา ตลอดถึงเมืองเชียงแสน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้หัวเมืองลาวตลอดจนถึง นครเวียงจันทน์ หัวเมืองพวนและนครหลวง พระบาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ตีหัวเมืองเขมรตลอดจนถึง พุธไธมาศ ทางทิศใต้ตลอดถึง เมืองไทรบุรีและตรังกานู ทิศตะวันตกแผ่ไปถึงเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีทะลุออกมหาสมุทรอินเดีย

แบบทดสอบ

http://uploadingit.com/d/ASGDXA2PGUESQAXF