การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลัก ธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหา กษัตริย์
แหล่งอ้างอิง:
http://www.dopa.go.th/history/suk.htm
ค้นจาก www.thaigoodview.com
แบบทดสอบหลังเรียน
http://quickr.me/04LJnag
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือ สมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลัก ธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหา กษัตริย์
แหล่งอ้างอิง:
http://www.dopa.go.th/history/suk.htm
ค้นจาก www.thaigoodview.com
แบบทดสอบหลังเรียน
http://quickr.me/04LJnag
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น